นวดไทย

ข้อมูลเพิ่มเติมอื่น ๆ

  1. ตำรานวด ราชสำนัก
  2. ตำรานวดไทย เล่ม 1 (เชลยศักดิ์)
  3. ตำรานวด ม SK
  4. ติว
  5. ตารางสรุป ราชสำนัก

ลม

ตำรายาโรคลม

เส้น


เนื้อหา

ชื่อเส้นแขนง รายละเอียด
รัตฆาต นิยาม ๑. ลมที่ทำให้เกิดหน้าแดง ตัวแดง แก้โดยกดที่เส้นรัตฆาต
๒. รัตฆาต เป็นชื่อเส้นในร่างกายซึ่งตรงกับหลอดเลือดแดงนอกสุด บริเวณขาหนีบซ้าย –ขวา
๓. รัตฆาต หมายถึง
๓.๑ หลอดเลือดแดงใหญ่ บริเวณขาหนีบ เส้นข้างขวาเรียก รัตฆาตขวา เส้นข้างซ้าย เรียก รัตฆาตซ้าย
๓.๒ เส้นบริวารของเส้นอิทาและปิงคลา แล่นจากบริเวณขอบกระดูกเชิงกรานตรงขึ้นไปที่บริเวณคอ มี ๒ เส้น แนบขนานไปกับเส้นกระดูกสันหลัง เส้นข้างขวาเรียก รัตฆาตขวา เส้นข้างซ้ายเรียก รัตฆาตซ้าย
๔. ลมรัตฆาต คือโรคชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมักมีอาการเสียดแทงในท้อง สวิงสวาย มีไข้ กินอาหารไม่ได้ หายใจขัด มีเสมหะในลำคอ ถ่ายเป็นมูกปน มีลมในท้อง ปวดท้องบ่อยๆ” รัตฆาต (ตอน ๒)
ลมรัตฆาต ลักษณะและอาการ เป็นลมที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจไม่อิ่ม ปวดเสียดสองราวข้าง ตั้งแต่รักแร้จนถึงเอวเอียงตัวไม่ได้ รัตฆาตซ้ายเอี้ยวตัวไม่ได้ รัตฆาตขวาเสียดร้าวสีข้าง มีพิษไข้ สมุฏฐานวินิจฉัย ทางแพทย์แผนไทย
๑. เกิดจากธาตุสมุฏฐาน (ธาตุ อุตุ อายุ กาล) เป็นเหตุ
๒. เส้นประธานสิบ เส้นสุมนา สหัสรังสี ทวารี กาลทารี สิกขิณี และรัตฆาตซ้าย ขวา
แนวทางการรักษา
๑. การซักประวัติ และตรวจร่างกาย
การซักประวัติ
อาชีพ ลักษณะงาน การออกกำลังกาย อุบัติเหตุ
ลักษณะการปวดแบบต่างๆ การซักประวัติตามสมุฏฐาน
การตรวจร่างกาย
ตรวจไข้ หน้าแดง เคลื่อนไหว บิดตัวเอี้ยวซ้าย-ขวา เจ็บ ตรวจการหายใจเข้าออกลึกๆ จะรู้สึกติดขัดชายโครง
การรักษา
๑. แผนการรักษา
๑.๑ การประคบด้วยลูกประคบสมุนไพร
๑.๒ การนวดบำบัด
๑.๓ การบริหารร่างกาย การจัดท่าทางให้เหมาะสมกับลักษณะงาน และอาชีพ
การนวดบำบัด ลมรัตฆาต แบ่งตามอาการที่เป็น
๑. รัตฆาตซ้าย ให้นวดจุดข้างสะดือ ๔ นิ้วมือ แล้วนวดตามเส้นสหัสรังสี
๒. รัตฆาตขวา ให้นวดจุดกึ่งกลางสะบักหลัง จุดชิดกระดูกสันหลังตามแนวเส้นกาลทารี
๓. รัตฆาตนอก ให้นวดจุดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง เหนือข้อพับเข่า ๓ นิ้วมือ แล้วนวดตา
๔. นวดตามแนวเส้นอิทา ถ้าเป็นรัตฆาตซ้าย นวดตามแนวเส้นปิงคลาถ้าเป็นด้านขวา
วิธีการนวดบำบัดอาการ ลมรัตฆาต
๑. การนวดเท้าเปิดประตูลม เท้า ขา แขน มือ
๒. การโกยท้อง
๓. การกดตำแหน่งรัตฆาต (ห่างชายโครง ๑ นิ้วมือ) วิธีกดเหมือนสันฑฆาต
๓.๑ นวดบำบัดอาการปวดหลัง
๓.๒ นอนหงายโกยท้องตามวิธีการรักษาลมปัตฆาต
๓.๓นอนคะแคงกดตำแหน่งรัตฆาต (ห่างจากชายโครง ๑ นิ้วมือ) วิธีกดเหมือนสันฑฆาต
การประเมินผลการรักษา
อาการปวดเสียดที่ชายโครงลดลง
ข้อห้าม ข้อควรระวัง และแนะนำ
ท่าบริหาร
๑. ท่ายืดสีข้าง โดยการยืนกางขาเท่าความกว้างของไหล่ มือประสานเหยียดขึ้นเหนือศีรษะแล้วเอนตัวไปด้านข้าง
๒. ยืนก้มเอวไปข้างหน้า และ แอ่นหลังสลับกัน
๓. เท้าเอวแอ่นตัวไปด้านหลัง โดยให้เท้าหน้างอ เท้าหลังเหยียด
๔. ยืนเท้าหนึ่งอยู่หน้า เท้าหนึ่งอยู่หลัง ห่างประมาณ ๒ ช่วงหลัง มือทั้งสองเท้าสะเอว เหยียดขาหลัง งอเข่าหน้า แอ่นเอวไปด้านหลัง หน้าเงย
แนวเส้นรัตฆาต
เริ่มที่กึ่งกลางขอบกระดูกเชิงกรานด้านข้างลำตัว ห่างจากกระดูกเชิงกรานด้านหน้า (หัวตะคาก) ๑ องค์คุลี หรือ ๑ ข้อนิ้วมือ ของผู้ถูกนวด
แล้วแล่นลงไปตามแนวขาด้านนอก แนว ๓ (แนวตะเข็บกางเกง) ไปตามด้านนอกของข้อเข่า เข้าไปในข้อเข่า ออกมาด้านหลังหัวกระดูกหน้าแข้งนอก ลงมาเหนือตาตุ่มนอก เข้าไปในอุ้งเท้าหรือในฝ่าเท้า แนวแล่นเส้นรัตฆาตจะขึ้นมาที่ต้นคอด้านนอก เช่นเดียวกับเส้นสันฑฆาตและปัตฆาต กลับมาที่ข้อสะโพกด้านหลัง ขึ้นมาที่ชายโครงทั้งสองข้าง
ลมที่เกิดขึ้นในเส้นรัตฆาต
๑. ลมปวดขา คือ อาการปวดเมื่อยขาทั่วไป
๒. ลมปวดชายโครง คืออาการปวดกล้ามเนื้อแนวชายโครง
๓. ปวดลมยอกสะโพก คือ อาการปวดบริเวณกล้ามเนื้อสะโพก
๔. ลมขัดเข่า คือมีอาการขัดในใต้ข้อพับ
๕. ลมขัดข้อเท้า (ใน-นอก) คือปวดข้อเท้า
แนวทางเดิน เส้นรัตฆาต ดังภาพข้างล่างนี้
   
   
   

ท่านวดพื้นฐาน


1 / 7
ท่าที่ 1
2 / 7
ท่าที่ 2
3 / 7
ท่าที่ 3
4 / 7
ท่าที่ 4
5 / 7
ท่าที่ 5
6 / 7
ท่าที่ 6
7 / 7
ท่าที่ 7

เส้นประทาน 10


1 / 7

อิทา

เริ่มต้นจากใต้สะดือ 2 นิ้ว ด้านซ้าย 1 นิ้วมือ แล่น ลงไปบริเวณหัวเหน่าลงไปต้นขาซ้าย ด้านในค่อนไปทางด้านหลัง ถึงหัวเข่า เเล้วเลี้ยวขึ้นไปเเนบข้างกระดูกสันหลังด้านซ้าย ขึ้นไปบนศีรษะ เเล้วกลับลงมาสิ้นสุดที่ข้างจมูกซ้าย
ลมประจำเส้นคือ
1.1 ลมจันทะกะลา (ลมประกัง ลมสรรนิบาต)
  • อาการคือ ปวดหัวมาก ตามืดมัว ชัก ปากเบี้ยว เสียวหน้าตา เจ็บสันหลัง
  • สาเหตุ เกิดเพื่อกำเดาเเละปิตตะระคนกัน
  • เวลา มักจับตอนเย็น ถ้าเป็นถึง 7 วันถึงแก่ชีวิตได้ (ให้ตัวร้อนเเละกลับเย็น มักจับวันพฤหัสตอนเย็น-กลางคืน)
    (ลมประกัง อาการคือ ปวดหัวมาก ตัวร้อน วิงเวียน)
1.2 ลมพหิตวาต
  • อาการคือ เซื่องซึม สลบ คล้ายถูกงูลายสาบกัด งูทับทากัด
1.3 ลมสัตตวาต
  • อาการคือ ให้มือสั่น ตีนสั่น
  • สาเหตุ บริโภคอาหารวันละ 4-5 เวลา
1.4 ลมจับโปง
  • อาการ ปวดหัวเข่า

ปิงคะลา

เริ่มต้นจากใต้สะดือ 2 นิ้ว ด้านขวา 1 นิ้วมือ เเล่นลงไปบริเวณหัวเหน่าลงไปต้นขาขวาด้านใน ค่อนไปด้านหลังถึงหัวเข่า เเล้วเลี้ยวขึ้นไปเเนบข้างกระดูกสันหลังด้านขวา ขึ้นไปบนศีรษะ เเล้วกลับลงมา เส้นสิบกับการเกิดโรค
ลมประจำเส้นคือ
2.1 ลม สูรย์กาลา (ศุญทะกะลา)
2.2 ลมปะกัง
  • อาการคือ หน้าตาเเดง ปวดหัวตอนเช้าถึงเที่ยง ปวดหัวมาก ชัก ปากเอียง คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม เจ็บตา น้ำตาไหล
  • มักจับวันพฤหัส ห้ามกินของมันของเย็นเกินไป
2.3 ลมพหิ
  • อาการคือ สลบไม่รู้ตัว ไม่พูดจา คล้ายถูกงูกัด
2.4 รัตนาวาต
  • อาการคือ เมื่อยล้า ขัดทั่วทุกเเห่ง เพราะกินอาหารจำเจ เมื่อจะเป็นให้เเสบไส้พุง อยากอาหารเเละของสดคาว
2 / 7

สุมนา

เริ่มจากเหนือสะดือ 2 นิ้ว เเล่นขึ้นไปภายในอก ผ่านลำคอขึ้นไปสิ้นสุดที่โคนลิ้น
ลมประจำเส้นคือ
    3.1 ลมชิวหาสดมภ์
อาการคือ ลิ้นกระด้างคางเเข็ง เซื่องซึม เจรจามิได้
    3.2 ลมดาลตะคุณ (ลมมหาอัศดมภ์)
อาการคือ จุกอก เอ็นเป็นลำจับหัวใจ มักจับวันอาทิตย์
    3.3 ลมทะกรน
อาการคือ ดวงจิตระส่ำระส่าย
    3.4 ลมบาทจิตต์
อาการคือ เคลิบเคลิ้ม พูดติดขัด หลงลืม เเน่นอก อาเจียนเป็นลมเปล่า หนาวร้อน ต้องฝืนกินอาหาร จะขย้อนออก
3 / 7

กาละทารี

เริ่มต้นที่เหนือสะดือ 1 นิ้วมือ เเล้วเเตกออกเป็น 4 เส้น
  • 2 เส้นบนเเล่นขึ้นไปผ่าน ข้างชายโครง ผ่านสะบักใน ไปยังเเขนทั้ง 2 ข้าง ลงไปที่ข้อมือตลอดถึงนิ้วมือทั้งสิบ
  • 2 เส้นล่าง เเล่นลงไปบริเวณต้นขาด้านใน ผ่านหน้าเเข้งด้านในทั้ง 2 ข้าง ลงไปที่ข้อเท้า ตลอดถึงนิ้วเท้าทั้งสิบ
  • ลมประจำเส้นคือ
      ไม่ระบุชื่อ บางตำรา เรียก ลม หัสรังษี
    • อาการคือ เหน็บชาทั้งตัว เจ็บเย็นสะท้าน
    • สาเหตุ กินอาหารผิดสำแดง หรือ ของเเสลง ได้เเก่ ขนมจีน ข้าวเหนียว ถั่ว
    4 / 7

    สหัสรังษี

    (รากตาซ้าย)
    เริ่มต้นจากข้างสะดือซ้าย 3 นิ้วมือ เเล่นลงไปบริเวณต้นขาซ้ายด้านใน ผ่าน หน้าเเข้งด้านใน โคนนิ้วเท้าซ้ายทั้งห้า เเล้วย้อนผ่านขอบฝ่าเท้าด้านนอกขึ้นมายังหน้าเเข้งด้านนอก ต้นขาด้านนอกไปชายโครง หัวนมซ้าย เเล้วเเล่นเข้าไปใต้คาง ขึ้นไปสิ้นสุดที่ตาข้างซ้าย
    ลมประจำเส้นคือ ลมอัคนิวาตคุณ(ลมจักขุนิวาต)
    • อาการคือ เจ็บกระบอกตา วิงเวียน ตาพร่า ลืมตา ไม่ได้
    • สาเหตุ กินของมันของหวาน
    • เวลา มักจับวันศุกร์

    ทวารี

    (รากตาขวา)
    เริ่มต้นจากข้างสะดือด้านขวา 3 นิ้วมือ เเล่นลงไปบริเวณต้นขาขวาด้านใน ผ่านหน้าเเข้งด้านใน ขอบฝ่าเท้าด้านในโคนนิ้วเท้าขวา ทั้งห้า เเล้วย้อนผ่านขอบฝ่าเท้าด้านนอก ขึ้นมายังหน้าเเข้งด้านนอก ต้นขาด้านนอก ไปชายโครงหัวนมขวา เเล้วเเล่นเข้าไปใต้คาง ขึ้นไปสิ้นสุดที่ตาขวา
    ลมประจำเส้นคือ
    • ลมทิพจักขุขวา (จักษุ)
    • อาการคือ เจ็บกระบอกตา วิงเวียน ตาพร่า ลืมตาไม่ได้ อาจเป็นทั้ง 2 ข้าง หรือข้างขวา ข้างเดียว
    • ลมปัตฆาต
    • อาการคือ เกิดจากเส้นทวารีพิการเรื้อรัง บังเกิด

    สาเหตุ กินน้ำมะพร้าว อันมันหวาน เเละมีกามสังโยค
    5 / 7

    จันทภูสัง(ลาวุสัง)

    (รากหูซ้าย)
    เริ่มต้นจากข้างสะดือด้านซ้าย 4 นิ้วมือ เเล่นผ่านราวนมซ้าย ผ่านด้านข้างของคอ ขึ้นไปสิ้นสุดที่หูขวา เส้นสิบกับการเกิดโรค
    ลมประจำเส้นคือ
      ลมคะพาหุ
    • อาการ หูตึง ลมออกจากหู
    • สาเหตุ อาบน้ำมาก ให้วิงเวียน จึงเป็นเเล
    • เวลา มักจับวันพุธ

    รุชำ(อุรังกะ)

    (รากหูขวา)
    เริ่มต้นจากข้างสะดือด้านขวา 4 นิ้วมือ เเล่นผ่านราวนมขวา ผ่านด้านข้างของคอ ไปสิ้นสุดที่หูขวา
    ลมประจำเส้นคือ
      ลมคะพาหุ
    • อาการ หูตึง ลมออกจากหู
    • สาเหตุ กินน้ำมะพร้าว(แก่) ของอันมัน มักให้เจ็บท้องนัก
    • มักจับวันอังคาร บางตำราบอกว่า
    • เวลา มักจับวันอังคาร
    6 / 7

    สุขุมัง(นันทะกะหวัด)

    เริ่มต้นจากใต้สะดือ 3 นิ้วมือ เยื้องซ้ายเล็กน้อย เเล่นไปยังทวารหนัก
    ลมประจำเส้นคือ
    • ไม่ระบุชื่อลม
    • อาการ ให้ตึงทวาร อึดอัดแน่นท้อง
    • ลมปัตฆาต
    • สาเหตุ กินอาหารโอชะมันจัด ทำให้ตึงทวาร เจ็บท้อง ราวท้องจะเเตก กินอาหารเเม้น้อยก็คับท้อง ขัดอุจจาระ บางทีก็ลงไปเปล่า
      เวลา มักจับวันอาทิตย์

    สิกขินี(คิชฌะ)

    เริ่มต้นจากใต้สะดือ 3 นิ้วมือ เยื้องขวาเล็กน้อย เเล่นไปยังทวารเบา
    ลมประจำเส้นคือ
    • ลมราทยักษ์ (กุจฉิสยาวาตา)
    • อาการคือ เสียดสีข้างทั้งสอง ขัดเบา ปัสสาวะขุ่น เจ็บหัวเหน่าลงท้อง ท้องขึ้น พะอืดพะอมท้อง
      สาเหตุ ผู้ชายบังเกิดในองคชาติ เป็นเพื่อกามราคะนั้นหน่วงเอ็น ทำให้ปัสสาวะหยดย้อย หนองใน เป็นอุปะทมไส้ด้วน ไส้ลาม ผู้หญิงเป็นเพื่อโลหิตหรือเอ็นในมดลูกพิการ เรียกว่าลมกามทุจริต เจ็บท้อง สีข้างสะเอว เเล้วเเล่นเข้าไปในท้อง เเล้วลงมารั้งหัวเข่าทั้งสองข้าง
    7 / 7
    เส้นประธาน ลม อาการ
    อิทา
    ใต้สะดือ 2 นิ้ว เยื้องซ้าย 1 นิ้วมือ
    ลมจันทะกลา (ลมปะกัง) (ลมสรรนิบาต) ปวดหัวมาก วิงเวียน ตามืดมัว ตาวิงตอนกลางคืน เจ็บตา ไข้จับให้ตัวร้อน ชักปากเบี้ยว เสียวหน้าตา เจ็บสันหลัง เกิดเพราะกำเดาและปิตตะระคนกัน (มักจับตอน(เย็น) ถ้าเป็นถึง ๗ วัน จะถึงแก่ชีวิตได้ (มักจับวันพฤหัส)
    ลมพหิ (ลมพหิตวาต) เซื่องซึม สลบ คล้ายถูกงูลายสาบกัด
    ลมสัตตวาต ทำให้มือสั่น ตีนสั่น เพราะกินอาหารหวานมากเกินไป หรือกินอาหารวันละ ๔-๕ เวลา
    ปิงคลา
    ใต้สะดือ 2 นิ้ว เยื้องขวา 1 นิ้วมือ
    ลมสูริยกลา (สุญทกลา) (ลมปะกัง) (ลมสรรนิบาต) หน้าตาแดง ปวดหัวตอนเช้าถึงเที่ยง ปวดหัวมาก มักเจ็บตา น้ำตาไหล ชักปากเบี้ยว คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม (มักจับวันพฤหัส)
    ลมพหิ สลบไม่รู้สึกตัว ไม่พูดจา คล้ายถูกงูทับสมิงคลากัด
    รัตนาวาต เมื่อยล้า ขัดทั่วทุกแห่ง เพราะกินอาหารจำเจ เมื่อจะเป็นให้แสบไส้พุง อยากอาหารและของสดคาว
    สุมนา (สุสุมนา)
    เหนือสะดือ 2 นิ้ว
    ลมชิวหาสดมภ์ สิ้นกระด้าง คางแข็ง เซื่องซึม พูดไม่ชัด พูดไม่ได้
    ลมดาลตะคุณ (ลมมหาอัศตมภ์) จุกอกเอ็นเป็นลำ จับหัวใจ ให้แน่นอก (มักจับวันอาทิตย์)
    ลมทะกรน ดวงจิตระส่ำระสาย
    ลมบาทจิตร์ เคลิบเคลิ้ม พูดพรอด มักอั้นอัน (พูดติดขัด) หลงลืม จับดวงใจให้หลงใหล คลุ้มคลั่ง แน่นอก อาเจียนเป็นลมเปล่า หนาวร้อน ต้องฝืนกินอาหาร ได้กลิ่นอาหารจะขย้อนออก
    กาลทารี
    เหนือสะดือ 1 นิ้ว แตกเป็น 4 เส้น
    ลมกาลทารี เหน็บชาทั้งตัว เจ็บเย็นสะท้าน เกิดเพราะกิน อาหารแสลง ได้แก่ ขนมจีน ข้าวเหนียว ถั่ว (มักจับวันอาทิตย์), (วันจันทร์)
    ลมหัสรังษี (ลมสรรนิบาต) เมื่อแรกจับให้นอนแน่นิ่งไม่รู้สึกตัว
    สหัศรังสี (หัสรังษี)(หัสฤดี)
    ข้างสะดือ ซ้าย 3 นิ้ว
    ลมจักขุนิวาต ปวดกระบอกตา วิงเวียน ลืมตาไม่ขึ้น
    ลมอัคนิวาตคุณ เกิดเพราะกินของมันหวานมาก (มักจับวันศุกร์)
    ทวารี
    (ทวาคตา)
    (ทวารจันทร์)
    (ฆานทวารี)
    ข้างสะดือ ขวา 3 นิ้ว
    ลมทิพจักษุ ปวดกระบอกตา วิงเวียน ตาพร่ามัว ลืมตาไม่ขึ้น อาจเป็นทั้งสองข้าง หรือข้างขวาข้างเดียว
    ลมปัตฆาฏ เกิดจากเส้นทวารีพิการเรื้อรัง เกิดเพราะกิน น้ำมะพร้าวอ่อนอันมันหวาน และมีกามสังโยค ( (มักจับวันอังคาร)
    จันทภูสัง
    (อุรัง)
    (ภูสำพวัง)
    (สัมปะสาโส)
    (ลาวุสัง)
    ข้างสะดือ ซ้าย 4 นิ้ว
    ลมคะพาหุ เกิดเพราะอาบน้ำเย็นมาก ให้วิงเวียนจึงเป็นแล (มักจับวันพุธ)
    รุชำ
    (สุขุมอุสะมา)
    (อุลังกะ)
    ข้างสะดือ ขวา 4 นิ้ว
    ลมคะพาหุ ทำให้หูตึง ลมออกจากหู เป็นทั้งสองข้าง เกิดเพราะ มักกินน้ำมะพร้าว ของอันมัน (มักจับวันอังคาร)
    ลมทาระกรรณ์ มักให้เจ็บท้องนัก เพราะกินของอันมัน (มักจับวันอาทิตย์)
    สุขุมัง
    (นันทะกะหวัด)
    (กังขุง) (กุขุง)
    ใต้สะดือ 3 นิ้ว
    ลมกุขุง เกิดเพราะกินอาหารมาก เกิดเพราะกินอาหารโอชะมัน ทำให้ตึงทวาร เจ็บท้อง ราวท้องจะแตก กินอาหารแม้น้อยก็คับท้อง ขัดอุจจาระ บางทีก็ ลงไปเปล่า (มักจับวันอาทิตย์)
    สิกขินี
    (คิชณะ)
    (สังคินี)
    (รัตคินี)
    (สังขิ)
    ใต้สะดือ 3 นิ้ว
    ลมสังขิ
    ลมราชยักษ์ (ลมแทรก)
    กินผิดสำแลง ลมกุจฉิสยาวาต พัดผิดปกติ ทำให้ลงท้อง ท้องขึ้น ผะอืดผะอมท้อง เสียดสีข้างทั้งสอง ขัดเบา ปัสสาวะขุ่น ปัสสาวะรุมร้อน เจ็บหัวเหน่า
    ผู้ชายบังเกิดในองคชาติ เป็นเพราะกามราคะนั้น หน่วงเอ็น ทำให้ปัสสาวะหยดย้อย หนองใน เป็นอุปะทม ไส้ด้วน ไส้ลาม
    ผู้หญิงเป็นเพราะโลหิตหรือเอ็นในมดลูกพิการ เรียกว่า ลมกามทุจริต เจ็บท้อง สีข้าง สะเอว (ดุจดังหักกลาง) แล้วแล่นเข้าไปในท้อง แล้วลงมารึงหัวเข่าทั้งสองข้าง ทำให้เลือดจับมูก มักเป็นมุตกิด มุตคาต

    นวดพื้นฐานราชสำนัก


    1 / 7
    2 / 7
    3 / 7
    4 / 7
    5 / 7
    6 / 7
    7 / 7

    นวดจุดสัญญาณราชสำนัก


    จุดสัญญาณแม่ (นับตามชื่อจุดสัญญาณ มี 50 จุด แต่นับที่พบทั้งหมด มี 84 จุด)

    จุดสัญญาณแม่ ข้างละ รวม จุดสัญญาณแม่ ข้างละ รวม จุดสัญญาณแม่ ข้างละ รวม
    1) ขาด้าน นอก 5 10 2) ขาด้าน ใน 5 10 3) เข่า 3 6
    4) ข้อเท้า 1 2 5) หลัง 5 10 6) หัวไหล่ 5 10
    7) แขน ด้านนอก 5 10 8) แขน ด้านใน 5 10 9) ศีรษะ ด้านหน้า 5 5
    10) ศีรษะ ด้านหลัง 5 5 11) ศีรษะ ด้านบน (จุดสัญญาณจอมประสาท) 1 1 12) ท้อง 5 5
    รวม 12 ส่วน มี สัญญาณ 5 (9 ส่วน) รวม 84 จุด
    1 / 12
    จุดสัญญาณ ขาด้านนอก
    1 เข้าสะโพก ขาด้านนอก ออกปลายเท้า
    2 ข้อต่อสะโพก ไปขา ออกสันหน้าแข้งด้านนอก
    3 เข้าสะโพก ไปเชิงกราน ออกท้องน้อย
    4 เข้าขาท่อนบนด้านนอก ไปในเข่า
    5 ขาท่อนล่างด้านนอก ไขข้อเท้า ออกหลังเท้านิ้วเท้า
    2 / 12
    จุดสัญญาณ ขาด้านใน
    1 เข้าข้อต่อสะโพก บั้นเอว ออกเข่า
    2 ขาท่อนบนด้านใน ลงขาทั่วไป ออกปลายเท้า
    3 เข้าขาท่อนบนด้านในเหนือเข่า ในเข่า
    4 เข้าเข่า ไปสะบ้า
    5 ข้อเท้าด้านใน ฝ่าเท้า นิ้วเท้า
    3 / 12
    จุดสัญญาณ เข่า
    1 เข้ามุมบนสะบ้าด้านนอก ไปเข่า
    2 เข้ามุมบนสะบ้าด้านใน ไปเข่า
    3 เข้ากึ่งกลางขอบสะบ้าด้านล่าง ไปเข่า
    ข้อห้าม / ระวัง
    1 2 สะบ้าขัด
    3 สะบ้าบิน (กดดันขึ้น)
    4 / 12
    จุดสัญญาณ ข้อเท้า
    1 เข้าข้อเท้า ออกส้นเท้า
    จุดสัญญาณ ข้อนิ้วเท้า
    1 เข้าข้อนิ้วเท้า
    2 เข้าข้อนิ้วเท้า
    3 เข้าข้อนิ้วเท้า
    4 เข้าข้อนิ้วเท้า
    5 เข้าข้อนิ้วเท้า
    5 / 12
    จุดสัญญาณ หลัง
    1 (L5) เข้า กระดูก ส 1 หลัง ไปเชิงกราน ขาด้านใน
    2 (L4) เข้าหลัง ไปท้อง
    3 (L3) เข้าปล้อง กระดูก ส 3 หลัง ไปไต ออกขาด้านนอก
    4 (T1) เข้ากระดูกสันหลัง ช่วงอกข้อ 1 ลงหน้าอก ออกสะบัก ไปแขนด้าน นิ้วนางและก้อย
    5 (C7) เข้ากระดูกสันหลัง ช่วงคอข้อ 7 ไปศีรษะ ส่งน้ำเลี้ยงขึ้นสมอง
    ข้อห้าม / ระวัง (ปลายนิ้วมือทั้ง 4 ใช้ประคองอย่ากดแรง)
    3 ขัดชายโครง
    4 5 กดทับหลอดเลือดบริเวณคอ
    6 / 12
    จุดสัญญาณ ไหล่
    1 เข้า สะบัก หัวไหล่
    2 เข้าข้างลำคอ ไปหัวไหล่
    3 เข้าข้างลำคอ ไปหัวไหล่ ออกแขน ด้านใน
    4 เข้าในไหปลาร้า ลงหน้าอก สะบัก หัวไหล่ รักแร้และแขน (ขึ้นกับทิศการกด)
    5 เข้าในหัวไหล่
    ข้อห้าม / ระวัง (ปลายนิ้วมือทั้ง 4 ใช้ประคองอย่ากดแรง)
    2 ห้าม PT อัมพาตเหยียดคู้แขนไม่ได้ (กระดูกหัวไหล่เคลื่อนหลุดออกมากขึ้น) หรือหากทิศแรงกดไปทางศีรษะ จะทำให้หน้ามืด เป็นลมได้
    3 หากกดแรง ทำให้นิ้วชา แขนไม่มีกำลัง หากทิศแรงกดดันขึ้นไปด้านษีรษะ ทำให้หน้ามืด เป็นลมได้
    4 5 กดแรง และทิศไม่ถูก ทำให้ชานิ้ว แขนไม่มีกำลัง
    7 / 12
    จุดสัญญาณ แขนด้านนอก
    1 หัวกระดูกต้นแขนท่อนบน ด้าน นอก ไปแขน ออกปลายนิ้วมือ
    2 เข้าแขนท่อนบนด้าน นอก เลียบแขนด้านนอกเยื่อหุ้มกระดูก ออกปลายนิ้วหัวแม่มือ ชี้ กลาง
    3 เข้าข้อศอกด้าน นอก
    4 เข้าข้อศอกด้าน ใน
    5 เข้าแขนท่อน ล่างด้านอก ไปข้อมือ ออกหลังมือ นิ้วมือ
    8 / 12
    จุดสัญญาณ แขนด้านใน
    1 หัวกระดูกต้นแขนท่อนบน ด้านใน ไปแขนด้านในและเยื่อหุ้มกระดูก ออกปลายนิ้วกลาง ก้อย
    2 เข้าแขนท่อนบนด้านใน ลงแขน ออกปลายนิ้ว
    3 เข้าข้อศอก
    4 เข้าแขนท่อนล่างด้านใน ไปข้อมือ
    5 เข้าข้อมือ ไปฝ่ามือ ออกนิ้วมือ
    9 / 12
    จุดสัญญาณ ข้อมือ
    1 เข้าข้อมือ ไปฝ่ามือ ออกนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ กลาง
    2 เข้าข้อมือ ไปฝ่ามือ ออกนิ้วหัวนาง ก้อย
    3 เข้าสันมือ ไปข้อมือ
    4 เข้าสันมือ ไปข้อมือ
    5 เข้าข้อมือ ไปฝ่ามือ ออกนิ้วทั้ง 5
    ข้อห้าม / ระวัง
    1 2 5 กดแรง ชานิ้วมือ
    10 / 12
    จุดสัญญาณ ศีรษะ ด้านหน้า
    1 2 เข้าหัวคิ้ว เบ้าตา หรือกระบอกตา ข้างขวา ข้างซ้าย
    3 4 เข้าข้อต่อกระดูกขากรรไกร ข้างขวา ข้างซ้าย
    5 ไปที่ลิ้น ริมฝีปาก คาง โคนลิ้น
    ข้อห้าม / ระวัง
    1 2 ถ้ากดต่ำไป หนังตาตก ลืมตาไม่ขึ้น
    3 4 ถ้ากดต่ำไปจะโดนเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าเป็นอัมพาต อ้าปากได้ไม่เต็มที่
    จุดสัญญาณ ศีรษะ ด้านหลัง
    1 2 เข้าฐานกะโหลกศีรษะ ไปศีรษะ ออกหัวคิ้วเบ้าตาด้านขวา และซ้าย
    3 4 เข้าขมับ ไปกกหู ออกไปคิ้ว และตาข้างขวา และซ้าย
    5 เข้ากึ่งกลางฐานกะโหลกศีรษะ ไปกึ่งกลางสมอง ออกหัวคิ้ว แล้วเบ้าตาทั้ง 2 ข้าง
    ข้อห้าม / ระวัง
    3 4 อย่ากดแรงเพราะกะโหลกบาง อาจแตกร้าว
    11 / 12
    จุดสัญญาณ หู
    1 2 เข้าหู
    3 เข้าไปขมับ กกหู คิ้ว
    4 เข้าหู
    5 เข้าหู
    ข้อห้าม / ระวัง
    2 3 ห้ามใช้ข้อนิ้วมือในการลงน้ำหนัก เพรากะโหลกบาง
    4 กดแรง ทำให้ปวดร้าวในหู
    จุดสัญญาณ จอมประสาท
    เข้ากึ่งกลางสมอง ไปหัวคิ้ว ออกลิ้น คาง
    ข้อห้าม / ระวัง
    ห้ามกดในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี
    12 / 12
    จุดสัญญาณ ท้อง
    1 2 เข้าอุ้งเชิงกราน ไปสะโพก กระเบนเหน็บ ลงขาท่อนบนด้านหน้า ข้างขวาและซ้ายตามลำดับ
    3 4 เข้าสันหลัง บั้นเอว ข้างขวา และซ้ายตามลำดับ
    5 เข้าปล้องกระดูกหลัง ไขสันหลัง ไปทวารหนัก ทวารเบา ออกขา 2 ข้าง
    ห้ามนวด
    มีก้อนหรือเนื้องอกภายในช่องท้อง
    มีการบาดเจ็บอวัยวะภายในช่องท้อง มีประวัติการผ่าตัดภายในช่องท้องเป็นระยะเวลาน้อยกว่า 1 เดือน
    มีประวัติเส้นเลือดเปราะ

    การนวดไทยบำบัด


    จำนวนท่า จุดนวดแนวนวด จำนวนผู้ถูกนวดผู้นวด

    นวดแก้ปวด ขา เข่า

    (27 ท่า)
  • แนวขาด้านใน
  • บน 2 แนว, ล่าง 2 แนว ท่านวด leg-in นอนหงาย และ นอนตะแคง
    นั่ง และ ยืน
  • แนวขาด้านนอก
  • บน 3 แนว, ล่าง 3 แนว ท่านวด leg_out
  • จุดนวด ด้านหน้าเข่า
  • 8 จุด (เหนือ 1, เหนือข้าง 2, ข้างด้านใน 1, ข้างด้านนอก 1, ใต้สะบ้า 3)
  • จุดเหนือหัวเข่าอยู่ที่ต้นขา ด้านหน้าใช้อุ้งมือวางทาบเข่าจุดนวดอยู่ตรงปลายนิ้วกลาง
  • จุดเหนือข้างเข่าอยู่เหนือเข่า ด้านข้างต้นขาห่างจาก ขอบสะบ้าด้านบน 2 นิ้วมือ ทั้งด้านนอกและใน 2 จุด
  • จุดข้างเข่า ทั้งด้านนอก และด้านใน 2จุด
  • จุดใต้สะบ้า 1, 2, 3, 3จุด
  • ท่านวด knee1
  • แนวฝ่าเท้า
  • 1 แนว (มี 3 จุด) ท่านวด foot
  • จุดนวด ด้านหลังเข่า
  • 4 จุด (เหนือพับเข่า 2, พับเข่า 1, ใต้พับเข่า 1)
  • จุดเหนือพับเข่า 1 อยู่เหนือกึ่งกลางพับเข่า 1 ฝ่ามือ
  • จุดเหนือพับเข่า 2 อยู่เหนือกึ่งกลางพับเข่า 2 นิ้วมือ
  • จุดพับเข่า อยู่กึ่งกลางพับเข่า
  • จุดใต้พับเข่า อยู่ใต้กึ่งกลางพับเข่า 2 นิ้วมือ
  • ท่านวด knee2
  • แนวขาด้านหลัง
  • บน 2 แนว, ล่าง 2 แนว ท่านวด leg_back

    นวดแก้ปวดหลัง

    (4 ท่า) ท่านวด back
  • แนวหลัง 1
  • นอนตะแคงนังคู้เข่าคู่
  • แนวหลัง 2
  • จุดท้าวสะเอว
  • แนวเกลียวข้าง
  • นวดแก้ปวด ไหล่ แขน ข้อศอก ข้อมือ ข้อนิ้ว

  • จุดฝ่ามือ
  • 4 จุด ฝ่ามือ 1,2,3, เหนือข้อมือ
  • จุดหลังมือ
  • 4 จุด จุด 1 หว่างนิ้วโป้งนิ้วชี้, จุด 2 ระหว่างนิ้วชี้นิ้วกลาง, จุด 3 ระหว่างนิ้วกลางนิ้วนาง,จุด 4 ระหว่างนิ้วนางนิ้วก้อย
  • แนวสะบัก
  • 2 ข้าง (ด้านใน)
  • แนวแขนด้านหน้า
  • จุดใต้รากขวัญ, จุดเหนือรักแร้ด้านหน้า, จุดร่องกล้ามเนื้อสามเหลี่ยม, จุดข้อศอกด้านใน, จุดข้อศอกด้านนอก, แนวแขนด้านหน้า 1 (แนวนิ้วกลาง),แนวแขนด้านหน้า 2 (แนวนิ้วก้อย)
  • แนวแขนด้านหลัง
  • จุดเกาะกล้ามเนื้อสามเหลี่ยม, แนวแขนด้านหลัง 1 (นิ้วกลาง), แนวแขนด้านหลัง 2 (แนวนิ้วนาง), จุดเหนือรักแร้ด้านหลัง
    ปวดไหล่ ปวดแขน(18 ท่า) ท่านวด ฝ่ามือ, hand1
    ท่านวด แขนด้านหน้า, arm1
    ท่านวด หลังมือ, hand2
    ท่านวด แขนด้านหลัง, arm2
    ปวดข้อศอก(7 ท่า) ท่านวด elbow
    ปวดข้อมือ(3 ท่า) ท่านวด wrist
    ปวดนิ้วมือ(5 ท่า) ท่านวด finger

    นวดแก้ปวด คอ ศีรษะ

    (17 ท่า)
  • จุดกำด้น
  • 1
  • จุดจอมประสาท
  • 1
  • จุดใต้ไรผม
  • 4
  • จุดหัวคิ้ว
  • 2
  • จุดหางคิ้ว
  • 2
  • จุดหางตา
  • 2
  • จุดอุณาโลม
  • 1 (อยู่กลางหว่างคิ้ว)
  • แนวกำด้น
  • 1
  • แนวข้างแนวกำด้น
  • 2
  • แนวคิ้ว
  • 2
  • แนวบ่า
  • 2 (แนวบ่า1, แนวบ่า2)
  • แนวหลังหู
  • 1
  • แนวเหนือหู
  • 1

    นวดแก้เป็นลม

    (4 ท่า)
  • จุดร่องใต้จมูก
  • 1 จุดนิ้วหัวแม่มือ กดคลึงเบา ๆ
  • จุดหลังมือ 1
  • ข้างละ 1 จุด นวดทั้ง 2 ข้าง
  • จุดลิ้นปี่
  • 1 จุดใช้ปลายนิ้วทั้ง 4 ซ้อนกัน กนับ 1 2 3 ปล่อย
  • แนวบ่า 1
  • ข้างละ 1 แนว นวดทั้ง 2 ข้าง (ไปถึงโค้งคอ)

    นวดแก้ ตกหมอน

    (5 ท่า)
  • แนวบ่า
  • 2 (แนวบ่า1, แนวบ่า2)
  • แนวข้างสะบัก
  • ข้างละ 1 จุด นวดทั้ง 2 ข้าง
  • จุดระดับเดียวกับปลายกระดูกสะบัก
  • ห่างปลายสะบัก 2 นิ้วมือ (แก้ก้มเงย)
  • จุดบริเวณโค้งระหว่างคอกับบ่า
  • (แก้หันหน้าซ้ายขวา)

    นวดแก้ สะบักจม

    (3 ท่า)
  • แนวข้างสะบัก
  • ด้านใน ข้างละ 1 จุด นวดทั้ง 2 ข้าง
  • จุดโค้งคอ/บ่า
  • จุดร่องซึ่โครง 1 และ 2
  • นวดแก้ จุกเสียด

    (4 ท่า)
  • แนวหน้าท้อง
  • 4 แนว เริ่มใต้ชายโครง 2 นิ้ว
  • แนวหลัง 1
  • แนวขาด้านอก
  • จุดใต้สะบ้าหัวเข่า 4นิ้วมือ, แนวขาด้านนอก 2 ช่วงแข้ง

    นวดแก้ ท้องผูก

    (5 ท่า)
  • แนวข้างกระเบนเหน็บ
  • 4 แนว เริ่มใต้ชายโครง 2 นิ้ว
  • แนวลำไส้ใหญ่
  • วนจากขวา ขึ้น ไปลงซ้าย
  • จุดเหนือจเวสะดือและใต้ข้างสะดือ
  • 4 จุด เหนือใต้สะดือ 4 นิ้ว ห่างกลางตัว 3 นิ้วนอนตะแคงชันเข่า

    นวด ป้องกัน การปวดประจำเดือน

    (5 ท่า)ก่อนหลังมี ปจด 7 วัน
  • แนวขาด้านหน้า 1
  • ช่วงต้นขา
  • แนวขาด้านหลัง 1
  • แนวหลัง 1
  • แนวอุ้งเชิงกราน
  • จุดเหนือหัวเหน่า
  • ใต้สะดือ 4 นิ้วสองมือวางสองข้างนิ้วหัวแม่มือซ้อนเข้าหากัน

    นวด ป้องกัน ตะคริว

    (4 ท่า)
  • แนวขาด้านนอก 2
  • ช่วงแข้ง
  • แนวขาด้านนอก 3
  • ช่วงแข้ง
  • จุดใต้สะบ้า
  • ใต้หัวข่า 4 นิ้ว
  • แนวขาด้านหลัง 1
  • ช่วงน่อง
  • จุดกลางน่อง
  • นวด แก้ข้อเท้าแพลง

    (7 ท่า)
  • แนวขาด้านหลัง 1
  • ช่วงน่อง
  • แนวขาด้านหลัง 2
  • ช่วงน่อง
  • จุดหน้าข้อเท้า
  • แนวขาด้านนอก 1
  • ช่วงแข้ง
  • แนวขาด้านนอก 2
  • ช่วงแข้ง
  • แนวขาด้านนอก 3
  • ช่วงแข้ง

    นวด แก้ไหล่ติด

    (10 ท่า)
    ไหล่ติดด้านหน้า (ปวดสะบักหน้า...), ไหล่ติดด้านหลัง (ปวดสะบักหลัง...) ไหล่ติดด้านใน (ปวดบริเวณหนีบรักแร้ ใต้รักแร้...)ไหล่ติดด้านบน (ปวดแนวราวบ่า...)
  • จุดใต้ไหปลาร้า
  • 3 จุด 1 2 3
  • จุดร่องกล้ามเนื้อ 3 เหลี่ยมด้านหน้า
  • 1 จุด
  • จุดเหนือรักแร้ด้านหน้ก
  • 1 จุด
  • จุดรอบข้อไหล่
  • 3 จุด
  • แนวสะบักด้านใน
  • จุดกลางสะบัก
  • 1 จุด
  • จุดเหนือรักแร้ด้านหลัง
  • 1 จุด

    นวด แก้ปวด สะโพก สลักเพชร

    (19 ท่า)
  • แนวอุ้งเชิงกราน
  • จุดหน้าหัวตะคาก
  • จุดรัตฆาต
  • ใต้ชายโครง 2 นิ้วมือใช้ศอกได้
  • จุดปัตฆาต
  • ใต้จุดรัตฆาต 2 นิ้วมือ เยื้องไปด้านในใช้ศอกได้
  • จุดสันทะฆาต
  • ใต้จุดปัตฆต 2 นิ้วมือ เยื้องไปด้านในใช้ศอกได้
  • จุดสลักเพชร
  • รอยบุ่มด้านข้างของก้นทั้ง 2 ข้าง
  • จุดใต้ขาหนีบ
  • กึ่งกลางต้นขาด้านในชิดขาหนีบ
  • แนวเกลียวข้าง
  • แนวโค้งเชิงกราน
  • จุดสลักเพชรใน
  • ระหว่าง L5 และ Sacrum ห่างกึ่งกลางตัว 1 นิ้วมือ
  • แนวข้ากระเบนเหน็บ
  • จุดใต้ปลายมือ
  • จุดใต้ปลายมือ 2 นิ้วมือ
  • จุดใต้สะบ้า 4 นิ้วมือ
  • จุดข้างตาตุ่มนอก
  • จุดขอบฝ่าเท้าด้านนอก