|
เส้นประทานสิบ |
|
1. เส้นอิทา
|
2. เส้นปิงคลา
|
|
เริ่มต้นจากใต้สะดือ 2 นิ้ว ด้านซ้าย 1 นิ้วมือ แล่น ลงไปบริเวณหัวเหน่าลงไปต้นขาซ้าย ด้านในค่อนไปทางด้านหลัง ถึงหัวเข่า เเล้วเลี้ยวขึ้นไปเเนบข้างกระดูกสันหลังด้านซ้าย ขึ้นไปบนศีรษะ เเล้วกลับลงมาสิ้นสุดที่ข้างจมูกซ้าย
ลมประจำเส้นคือ
1.1 ลมจันทะกะลา (ลมประกัง ลมสรรนิบาต)
อาการคือ ปวดหัวมาก ตามืดมัว ชัก ปากเบี้ยว เสียวหน้าตา เจ็บสันหลัง
สาเหตุ เกิดเพื่อกำเดาเเละปิตตะระคนกัน
เวลา มักจับตอนเย็น ถ้าเป็นถึง 7 วันถึงแก่ชีวิตได้
(ให้ตัวร้อนเเละกลับเย็น มักจับวันพฤหัสตอนเย็น-กลางคืน)
(ลมประกัง อาการคือ ปวดหัวมาก ตัวร้อน วิงเวียน)
1.2 ลมพหิตวาต
อาการคือ เซื่องซึม สลบ คล้ายถูกงูลายสาบกัด งูทับทากัด
1.3 ลมสัตตวาต
อาการคือ ให้มือสั่น ตีนสั่น
สาเหตุ บริโภคอาหารวันละ 4-5 เวลา
1.4 ลมจับโปง
อาการ ปวดหัวเข่า
|
|
เริ่มต้นจากใต้สะดือ 2 นิ้ว ด้านขวา 1 นิ้วมือ เเล่นลงไปบริเวณหัวเหน่าลงไปต้นขาขวาด้านใน ค่อนไปด้านหลังถึงหัวเข่า เเล้วเลี้ยวขึ้นไปเเนบข้างกระดูกสันหลังด้านขวา ขึ้นไปบนศีรษะ เเล้วกลับลงมา เส้นสิบกับการเกิดโรค
ลมประจำเส้นคือ
2.1 ลม สูรย์กาลา (ศุญทะกะลา)
2.2 ลมปะกัง
อาการคือ หน้าตาเเดง ปวดหัวตอนเช้าถึงเที่ยง ปวดหัวมาก ชัก ปากเอียง คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม เจ็บตา น้ำตาไหล
มักจับวันพฤหัส ห้ามกินของมันของเย็นเกินไป
2.3 ลมพหิ
อาการคือ สลบไม่รู้ตัว ไม่พูดจา คล้ายถูกงูกัด
2.4 รัตนาวาต
อาการคือ เมื่อยล้า ขัดทั่วทุกเเห่ง เพราะกินอาหารจำเจ เมื่อจะเป็นให้เเสบไส้พุง อยากอาหารเเละของสดคาว
|
|
3. เส้นสุมนา
|
4. เส้นกาลทารี
|
|
เริ่มจากเหนือสะดือ 2 นิ้ว เเล่นขึ้นไปภายในอก ผ่านลำคอขึ้นไปสิ้นสุดที่โคนลิ้น
ลมประจำเส้นคือ
3.1 ลมชิวหาสดมภ์
อาการคือ ลิ้นกระด้างคางเเข็ง เซื่องซึม เจรจามิได้
3.2 ลมดาลตะคุณ (ลมมหาอัศดมภ์)
อาการคือ จุกอก เอ็นเป็นลำจับหัวใจ
มักจับวันอาทิตย์
3.3 ลมทะกรน
อาการคือ ดวงจิตระส่ำระส่าย
3.4 ลมบาทจิตต์
อาการคือ เคลิบเคลิ้ม พูดติดขัด หลงลืม เเน่นอก อาเจียนเป็นลมเปล่า หนาวร้อน ต้องฝืนกินอาหาร จะขย้อนออก
|
|
เริ่มต้นที่เหนือสะดือ 1 นิ้วมือ เเล้วเเตกออกเป็น 4 เส้น 2 เส้นบนเเล่นขึ้นไปผ่าน ข้างชายโครง ผ่านสะบักใน ไปยังเเขนทั้ง 2 ข้าง ลงไปที่ข้อมือตลอดถึงนิ้วมือทั้งสิบ 2เส้นล่าง เเล่นลงไปบริเวณต้นขาด้านใน ผ่านหน้าเเข้งด้านในทั้ง 2 ข้าง ลงไปที่ข้อเท้า ตลอดถึงนิ้วเท้าทั้งสิบ
ลมประจำเส้นคือ
ไม่ระบุชื่่อ บางตำรา เรียก ลม หัสรังษี
อาการคือ เหน็บชาทั้งตัว เจ็บเย็นสะท้าน
สาเหตุ กินอาหารผิดสำแดง หรือ ของเเสลง ได้เเก่ ขนมจีน ข้าวเหนียว ถั่ว
|
|
5. เส้นสหัสรังษี (รากตาซ้าย)
|
6. เส้นทวารี (รากตาขวา)
|
|
เริ่มต้นจากข้างสะดือซ้าย 3 นิ้วมือ เเล่นลงไปบริเวณต้นขาซ้ายด้านใน ผ่าน หน้าเเข้งด้านใน โคนนิ้วเท้าซ้ายทั้งห้า เเล้วย้อนผ่านขอบฝ่าเท้าด้านนอกขึ้นมายังหน้าเเข้งด้านนอก ต้นขาด้านนอกไปชายโครง หัวนมซ้าย เเล้วเเล่นเข้าไปใต้คาง ขึ้นไปสิ้นสุดที่ตาข้างซ้าย
ลมประจำเส้นคือ
ลมอัคนิวาตคุณ(ลมจักขุนิวาต)
อาการคือ เจ็บกระบอกตา วิงเวียน ตาพร่า ลืมตา ไม่ได้
สาเหตุ กินของมันของหวาน
เวลา มักจับวันศุกร์
|
|
เริ่มต้นจากข้างสะดือด้านขวา 3 นิ้วมือ เเล่นลงไปบริเวณต้นขาขวาด้านใน ผ่านหน้าเเข้งด้านใน ขอบฝ่าเท้าด้านในโคนนิ้วเท้าขวา ทั้งห้า เเล้วย้อนผ่านขอบฝ่าเท้าด้านนอก ขึ้นมายังหน้าเเข้งด้านนอก ต้นขาด้านนอก ไปชายโครงหัวนมขวา เเล้วเเล่นเข้าไปใต้คาง ขึ้นไปสิ้นสุดที่ตาขวา
ลมประจำเส้นคือ
ลมทิพจักขุขวา (จักษุ)
อาการคือ เจ็บกระบอกตา วิงเวียน ตาพร่า ลืมตาไม่ได้ อาจเป็นทั้ง 2 ข้าง หรือข้างขวา ข้างเดียว
ลมปัตฆาต
อาการคือ เกิดจากเส้นทวารีพิการเรื้อรัง บังเกิด
สาเหตุ กินน้ำมะพร้าว อันมันหวาน เเละมีกามสังโยค
เวลา วันอังคาร
|
|
7. เส้นจันทภูสัง (ลาวุสัง) (รากหูซ้าย)
|
8. เส้นรุชำ(รุทัง, อุรังกะ) (รากหูขวา)
|
|
เริ่มต้นจากข้างสะดือด้านซ้าย 4 นิ้วมือ เเล่นผ่านราวนมซ้าย ผ่านด้านข้างของคอ ขึ้นไปสิ้นสุดที่หูขวา เส้นสิบกับการเกิดโรค
ลมประจำเส้นคือ
ลมคะพาหุ
อาการ หูตึง ลมออกจากหู
สาเหตุ อาบน้ำมาก ให้วิงเวียน จึงเป็นเเล
เวลา มักจับวันพุธ
|
|
เริ่มต้นจากข้างสะดือด้านขวา 4 นิ้วมือ เเล่นผ่านราวนมขวา ผ่านด้านข้างของคอ ไปสิ้นสุดที่หูขวา
ลมประจำเส้นคือ
ลมคะพาหุ
อาการ หูตึง ลมออกจากหู
สาเหตุ กินน้ำมะพร้าว(แก่) ของอันมัน มักให้เจ็บท้องนัก มักจับวันอังคาร บางตำราบอกว่า
เวลา มักจับวันอังคาร
|
|
9. เส้นสุขุมัง (นันทะกะหวัด)
|
10. เส้นสิกขิณี (คิชฌะ)
|
|
เริ่มต้นจากใต้สะดือ 3 นิ้วมือ เยื้องซ้ายเล็กน้อย เเล่นไปยังทวารหนัก
ลมประจำเส้นคือ
ไม่ระบุชื่อลม
อาการ ให้ตึงทวาร อึดอัดแน่นท้อง
ลมปัตฆาต
สาเหตุ กินอาหารโอชะมันจัด ทำให้ตึงทวาร เจ็บท้อง ราวท้องจะเเตก กินอาหารเเม้น้อยก็คับท้อง ขัดอุจจาระ บางทีก็ลงไปเปล่า
เวลา มักจับวันอาทิตย์
|
|
เริ่มต้นจากใต้สะดือ 3 นิ้วมือ เยื้องขวาเล็กน้อย เเล่นไปยังทวารเบา
ลมประจำเส้นคือ
ลมราทยักษ์ (กุจฉิสยาวาตา)
อาการคือ เสียดสีข้างทั้งสอง ขัดเบา ปัสสาวะขุ่น เจ็บหัวเหน่าลงท้อง ท้องขึ้น พะอืดพะอมท้อง
สาเหตุ ผู้ชายบังเกิดในองคชาติ เป็นเพื่อกามราคะนั้นหน่วงเอ็น ทำให้ปัสสาวะหยดย้อย หนองใน เป็นอุปะทมไส้ด้วน ไส้ลาม ผู้หญิงเป็นเพื่อโลหิตหรือเอ็นในมดลูกพิการ เรียกว่าลมกามทุจริต เจ็บท้อง สีข้างสะเอว เเล้วเเล่นเข้าไปในท้อง เเล้วลงมารั้งหัวเข่าทั้งสองข้าง
|